ลบ แก้ไข

นวัตกรรม Logistic กับการรองรับ AEC ในไทย

 


      การกระจายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งออกไปสู่ตลาดนั้น ในยุคปัจจุบันนี้การ
จัดระบบ Logistic หรือระบบการขนส่งถือเป็นองค์ประกอบที่ สําคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการค้า
ภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศก็ตาม
 
     ในอดีตที่ผ่านมานั้น การส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง สําหรับภายในประเทศนอกเหนือจาก
รถบรรทุกแล้ว รถไฟก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง ส่วนการขนส่งระหว่างประเทศ การขนส่งทางเรือ จะมากที่สุดจนกระทั่งการขนส่งทางอากาศ มีการพัฒนามากขึ้นในเวลาต่อมา การขนส่ง ทางเครื่องบินจึงมีมากขึ้น  โดยเงื่อนไขที่สําคัญของการส่งสินค้าระหว่างทางเรือและเครื่องบินก็คือค่าขนส่ง ถึงแม้ว่าทุกวันนี้การขนส่งโดยเครื่องบินจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก แต่ถึงกระนั้น การขนส่งโดยเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ก็ยังถือเป็นส่วนประกอบที่สําคัญในการขนส่งสินค้าระหว่างนานาชาติ
 
     ก่อนหน้าที่ระบบ Logistic จะมีการพัฒนา อย่างที่เห็นในทุกวันนี้นั้น สิ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
และมักจะปรากฏให้ผู้คนรู้เห็นก็คือ รถบรรทุกสินค้า หรือไม่ก็เรือส่งสินค้า และ ขบวนรถไฟสินค้า รวมทั้ง"โกดังสินค้า" เท่านั้นเอง ซึ่งต่างจากทุกวันนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อรูปแบบวิธีการธุรกิจการค้าทั้งระดับชาติและระดับโลกเปล่ียนแปลงอย่างรวด พร้อมทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบตลอดจนมีการแข่งขันกันสูงด้วย เพราะฉะนั้นระบบ Logistic จึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง
 
     และในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มต้นของการรวมตัวของประเทศสมาชิกในอาเซียน เพื่อเป็น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC-Asean Economics Community ที่ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กัมพูชา และ บรูไน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ระดับโลก และเพิ่มการค้าขายระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคงในทิศทางเดียวกันอีกด้วย เพราะฉะนั้น ระบบ Logistic ก็ยิ่งมีความจําเป็น มากขึ้น
 
    สําหรับประเทศไทยของเรานั้น ตอนนี้มีการเปิดคลังสินค้าแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ พร้อม
ทั้งนําเอาเทคโนโลยีโลลอจิสติกส์ที่ ทันสมัยขึ้นแล้ว บนพื้นที่ 120,000 ตารางเมตร ที่ย่านบางพลีบริเวณทีพาร์ค บางพลี 2 ภายใต้ชื่อโครงการคลังสินค้า Bangna Logistic Campus (BLC) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของ ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ที่มีบทบาทในเรื่อง โลลอจิสติกส์อย่างมาก ทั้งในประเทศไทยฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยเป้าหมายของการเปิดคลังสินค้าขนาดใหญ่ก็เพื่อเป็นการรองรับการเริ่มต้นของการหลอมรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเองเควิน เบอร์เรล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ประเทศไทย (DHL) ซึ่งมีอายุเพียง41 ปีแต่มีประสบการณ์กว่า 25 ปีได้เปิดเผยถึงจุดประสงค์หลักของโครงการนี้ว่า...
 
 
     "เป้าหมายก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจ ตั้งแต่เรื่องของการ
ขายของออนไลน์ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง จนถึงใหญ่ในเมืองไทย นอกจากนี้แล้ว ก็เพื่อรองรับทั้งกลุ่ม
ประชาคมอาเซียน โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าแบบ ครบวงจร ของภาคธุรกิจค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มยานยนต์ซึ่งการลงทุนทํา คลังสินค้าแห่งนี้ยังคงแนวคิด Go Green ที่ได้มีการปรับปรุงอัตราการปล่อยของ ก๊าซคาร์บอนไดออไซด์ 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2020 ด้วย" นอกจากนี้แล้ว เขายังบอกอีกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต
 
     ทางดีเอชแอล ซัพพลายเชน มองว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศน่าจะมีแนวโน้มที่ ดีขึ้น จึงทําให้
คลังสินค้าแห่งใหม่นี้จะเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ขณะเดียวกันคลังสินค้าแห่งนี้ถูกออกแบบตามความต้องการเฉพาะ จึงทําให้สามารถให้บริการเหนือกว่าคลังสินค้าทั่วไป และยังจะเป็นศูนย์กลางด้าน Supply Chain สําหรับลูกค้าหลากหลายธุรกิจ
 
    "น่าจะเป็นตัวช่วยการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่ม ที่ทาง DHL มีความเข้มแข้ง อย่างธุรกิจ
ค้าปลีก และกลุ่มที่น่าจะฟื้นตัว ได้อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์โดย ภาพรวมของอุตสาหกรรมผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีมูลค่าที่ 300,000 ล้านบาท และปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ 6 เปอร์เซ็นต์และมีแผนเพิ่มคลังสินค้าให้เป็นเครือข่าย ใน2-3 ปีนี้เริ่มตั้งแต่ที่ อ.วังน้อย จ.อยุธยาไปจนถึงภาคเหนือ อีสาน
ตะวันออก และใต้คิดเป็นงบลงทุนประมาณ 50 ล้านยูโร รวมงบลงทุน 5 ปีคือ 100 ล้านยโรู " 
 
    และเควิน เบอร์เรล ยังเปิดเผยอีกว่า ตลาดโลจิสติกส์ทุกวันนี้ถือว่าเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ทําให้การแข่งขันสูง ด้วยระบบ การให้บริการ และความรวดเร็ว เพื่อให้ต้นทุนการทําธุรกิจมีน้อยที่สุด และสามารถทํากําไรมากที่สุด ซึ่งคลังสินค้า แห่งใหม่นี้นับว่าไฮเทค ด้วยศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการด้านขนส่ง และปัจจุบัน DHL ซัพพลายเชน ประเทศไทย มีพนักงานทั่วประเทศ 70 แห่งมากกว่า 10,000 คน แม้ว่าประเทศไทยจะได้เปรียบประเทศ อื่นๆในอาเซียนหลายๆด้าน แต่ถึงกระนั้นในด้าน การพัฒนาระบบ ลอจิสติกส์แล้ว เขามองว่า
 
    "สิ่งที่ทําให้ไทย ยังเป็นรองสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ในด้านโลจิสติกส์คือเรื่องการนําเทคโนโลยี
การใช้ระบบสารสนเทศขั้นสูงแบบเต็มระบบมาใช้ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพัฒนาได้และไทยมีศักยภาพอีกทั้งเรื่องทําเลที่ตั้งในภูมิภาคที่ไทยได้เปรียบกว่า" 
 
 
    สําหรับ คลังสินค้า Bangna Logistic Campus (BLC)ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยนั้น จะเน้นเการให้
การบริการ ทั้งเรื่องlocation ประสิทธิภาพในการลดต้นทุนของลูกค้า และเทคโนโลยีที่จะ มาช่วย
สนับสนุน โดยออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ปัจจุบันธุรกิจโลจิ
สติกส์ในไทยพบว่าเมื่อปี 2557 มีขนาดตลาดประมาณ3 แสนล้านบาท และคาดว่าปีนี้น่าจะอยู่ที่
318,000 ล้านบาท และนี่จึงเป็นภาพสะท้อนอีกภาพหนึ่งที่ เกิดขึ้นในเมืองไทย เมื่อประตูการค้าของ
 
     สิ่งที่ ทำให้ไทย ยังเป็นรองสิงคโปร์ในด้านโลจิสติกส์คือเรื่องการนาเทคโนโลยีการใช้ระบบ
สารสนเทศขั้นสูงแบบเต็มระบบมาใช้

     ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  (นิรันศักดิ์บุญจันทร์) (กรุงเทพธุรกิจ)
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 6,325 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เราสามารถแข่งขันในกลุ่มอาเซียนที่ใกล้เข้ามาถึงในช่วงปลายปี 58 นี้ ทาง admin จึงนำโปรแกรมดีๆ มาบอกต่อกันค่ะ ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยเลือกคณะให้กับน้องๆ ช่วยให้น้องๆ สามารถตัดสินใจ Admission...
    by Editor
  • We would like to express our sincere thanks to all honored guests for being part of the recent Software Expo Asia 2014. As the exposition organizer, Software Industry Promotion Agency (Public Organization) would like...
    by Editor
  • เป็นความบังเอิญเมื่อผมไปนั่งร้านหนังสือแล้วเหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับเชียงใหม่ ที่เล่าถึงเรื่องในอดีตมาจนปัจจุบัน โดยมีไฮไลต์สำคัญเป็นภาพประกอบเก่าที่ถ่ายได้ในยุคสมัยนั้น หลังจากเปิดดูไปเรื่อยๆ...
    by Editor
  • ภาพที่แอร์บัสเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ เป็น A400M ลำแรกของกองทัพอากาศมาเลเซีย ที่จะส่งมอบต้นปีหน้า เป็นหนึ่งในจำนวน 4 ลำ ที่เซ็นซื้อขายกันเมื่อ 7 ปีก่อน การส่งมอบเลื่อนมาจากกลาย ปี 2558 จะได้รับ 3 ลำ...
    by Editor

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean